เมนู

และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ .. . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
[804] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มี
สัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัด แล้ว
ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้. วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่
ที่ทราบชัดแล้ว ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อม
บังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
อย่างนั้นแล. ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ เธอทั้งหลาย.
จบสติสูตรที่ 5

6. อัญญสูตร



ผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 หวังผลได้ 2 อย่าง


[805] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้
สติปัญฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน 4 เหล่า

นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติ
ปัฏฐาน 4 เหล่านี้แล พึงหวังผลได้ 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
จบอัญญสูตรที่ 6

7. ฉันทสูตร



ผู้เจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ


[806] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ สติปัฏฐาน 4
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้
เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.
[807] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่. มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมละความพอใจในเวทนานั้นได้ เพราะละความ
พอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.
[808] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมป-
ชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ ย่อมละความพอใจในจิตนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอัน
ชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.